วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

รวบรวมการยืดอายุแบต-การฟื้นฟูแบตเตอรี่ Lead-Acid

วิธีการยืดอายุแบต-การฟื้นฟูแบตเตอรี่Lead-Acid มีหลายวิธี
1.ใช้สารเคมีสลายซัลเฟตเติมลงในช่องน้ำกรด
เช่นล้างแบตทำสาว , ล้างด้วยน้ำร้อน ,ใช้สารเคมีเติมลงไปในแบต (EDTA,ดีเกลือไทยคือโซเดียมซัลเฟต,ดีเกลือฝรั่งคือแมกนีเซียมซัลเฟต หรือที่รู้จักกันในชื่อ เกลือยิปซัม (Epsom salts) ใช้เป็นยาระบาย) และใช้วงจรพัลส์สลายผลึกตะกั่วซัลเฟต(ผลึกเกลือ) ซึ่งวิธีทั้งหมดทำเพื่อเอาผลึกเกลือออกทั้งสิ้น เมื่อเอาออกแล้วแผ่นธาตุจะบางลงและมีไฟแรงขึ้นแต่ก็ไม่เท่าของใหม่ แล้วเมื่อแผ่นธาตุบางลงมากๆแล้ว ก็มีโอกาสแตกหักได้ง่าย การที่จะใช้แบตเก่ากับรถยนต์ต่อไปก็เสี่ยงที่จะได้กินข้าวลิง เพราะไม่รู้ว่าแผ่นธาตุจะแตกเมื่อไหร่
-การฟื้นฟูแบตเตอรี่ ควรทำทุกๆรอบ1ปี เพื่อขจัดตะกอนตะกั่วและผลึกเกลือไม่ให้เบียดกันจนแบตบวม ตะกอนตะกั่วที่เทออกมาให้นำเก็บไว้เท กลับลงไปในแบตเมื่อแบตเสีย แล้วค่อยเอาไปชั่งกิโลขาย ไม่ควรเททิ้งลงพื้น เพราะเป็นสารพิษตกค้างยาวนาน
-ส่วนน้ำกรดในแบตคือกรดกำมะถัน หรือกรดซัลฟูริค มีลักษณะใสไม่มีกลิ่น ทำลายปอดได้ ระเหยได้ในอุณหภูมิห้อง แต่เมื่อโดนความร้อนซัลเฟอร์จะระเหยออกกลายเป็นก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งมีกลิ่นกำมะถัน กรดที่มีถ.พ.(ความถ่วงจำเพาะ)1250จึงจะเหมาะสมที่จะใช้กับแบต การที่หลายๆท่านบอกว่าต้องเททิ้งเพราะไม่มีเครื่องวัดถ.พ. และยุ่งยากในการปรับถ.พ. ซึ่งเราสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยทิ้งให้ตกตะกอนแล้วเอาเฉพาะน้ำกรดใสๆมาใช้ได้แล้วมาปรับกรดอีกที  แต่ถ้าต้องการเททิ้ง ควรทำให้เป็นกลางด้วยแบคกิ้งโซดา หรือน้ำปูน หินปูน
-การล้างแบตทำสาว ในขั้นตอนที่ใส่กรดเกลือ การใส่น้ำยาล้างห้องน้ำมากเกินไป อาจทำให้แผ่นแตกและเสียหายได้ เช่นกันกับการใส่ดีเกลือก็ไม่ควรใส่มากเกินไป สำหรับแบตเก่า35Ah ให้เริ่มที่1/2-3/4ช้อนชา ละลายน้ำ แล้วแบ่งใส่ให้เท่าๆกันทั้ง6ช่อง แล้วค่อยๆปรับเพิ่มขึ้นหากต้องการ
-ดีเกลือSodium Sulfate Salt (Na2SO4) มีข้อมูลตามเว๊บ http://members.shaw.ca/Craig-C/Na2SO4.html ได้บอกว่าสามารถยืดอายุแบตได้ถึง3-4เท่าเลยครับ
ปริมาณที่ใช้สำหรับแบตใหม่ หน่วยเป็นปอนด์ ปริมาณการใส่ดีเกลือช่องละ2.5-3กรัมต่อน้ำหนักแบต5ปอนด์
(small car batteries 28-34 pounds)
(medium car battery 33-40 pounds)
(typical 45-55 pound "size 27" deep cycle battery)
-ดีเกลือฝรั่ง magnesium sulfate Salt
มีหลายเว๊บของฝรั่งเขียนไว้มากมาย อ่านไม่ไหว เอาเป็นว่าให้ใส่เท่ากับ Sodium Sulfate Salt หรือน้อยกว่าก็ได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นแม็กนีเซียมหรือโซเดียม ทั้ง2ตัวนี้จะเข้าไปขัดขวางการรวมตัวของเกลือตะกั่วไม่ให้เป็นผลึกใหญ่ ผลึกใหญ่เป็นสาเหตุทำให้แบตเสื่อม และแน่นอนการเกิดปฏิกิริยาไปกลับระหว่างตะกั่วซัลเฟต,ตะกั่ว,ตะกั่วออกไซด์ จะมีอนุภาคตะกั่วบางส่วนไม่เกาะหรือเกาะไม่แน่นกับแผ่นธาตุ แล้วจะมีตะกอนตะกั่วตกลงไปที่ก้นแบตหรือตกค้างระหว่างแผ่นธาตุ

2.ใช้เครื่องสลายทางไฟฟ้า-วงจรสลายผลึกเกลือ ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องชาร์จแบตในตัวเดียวกัน
2.1.มีทั้งแบบเฉพาะเครื่องสลาย และแบบชาร์จไปสลายไปในเวลาเดียวกัน  ที่ทำขายกันอ้างว่าความถี่พัลส์ที่เหมาะสมจะเท่ากับ10KHz (ของไทยทำเป็น1KHz http://www.vlovepeugeot.com/forum/index.php?topic=8665.0) ใช้ติดข้างๆแบตในรถยนต์ได้เลยหรือใช้ร่วมกับเครื่องชาร์จภายนอกได้ การชาร์จแบตไม่ควรใช้แหล่งจ่ายไฟเข้าชาร์จแบตเกิน 10% และ ต่ำกว่า 2%   เช่น แบต 75 Amh ควรใช้ ระหว่าง 1.5 -7.5 Amh ครับ แต่จะใช้มากกว่าก็ได้ (แบตร้อนและเสื่อมไว น้ำกลั่นพร่องไว) หรือน้อยกว่าก็ได้ (ไฟจะเพียงพอแค่ช่วยสลายผลึกแต่แทบจะไม่ช่วยชาร์จแบต)

2.2.แบบHome made สลายผลึกเกลือและชาร์จได้หลากหลายแรงดันด้วยเครื่องเดียว  แต่ไม่มีวงจรตัดไฟเมื่อแบตเต็ม แบบง่ายทำได้เอง มี2แบบ คือ
2.2.1แบบที่ใช้ คาปาซิเตอร์กับไดโอดบริจด์ http://poormanguides.blogspot.com/2009/05/updated-chargerdesulfator.html แบบนี้จะชาร์จแบตได้ตั้งแต่ 6v. ไปจนถึงหลายๆโวลต์ แต่ไฟแรงสูงและมีอันตราย ให้ความถี่พัลส์เป็น2เท่าของความถี่ไฟบ้าน ให้ใช้คีมคีบขั้วแบตก่อนเปิดสวิตท์ทุกครั้ง และปิดสวิตท์ก่อนเอาออกทุกครั้ง การที่ไม่คีบขั้วแบตก่อนอาจทำให้อุปกรณ์ชำรุด และมีไฟขาออกสูงถึง 340V.100Hzสำหรับไฟบ้าน220V.50Hz , 170V.120Hzสำหรับ 110V. 60Hz  แอมป์ที่ได้จะเท่ากับ 2*22/7*230*50*ความจุคาปาซิเตอร์30MFD(ไมโครฟารัด)=2.16857แอมป์ แต่ถ้าคีบขั้วแบตก่อนเครื่องชาร์จจะจ่ายไฟเพื่ออย่างเหมาะสมเอง กระแสที่เหมาะสมให้สังเกตุที่แบตว่าขณะชาร์จ แบตต้องไม่ร้อน ผมลองที่12MFDกับแบต85Ahมีฟองมากพอสมควรและแบตไม่ร้อน ,และลอง30MFDกับแบต35Ahแล้วทำให้แบตร้อน
2.2.2แบบขดลวด+ทรานซิสเตอร์+R
http://www.walletdd.com/article/%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E2%80%A6%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86-%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87
จะให้ความถี่สูงหลายช่วงแล้วแต่อุปกรณ์ที่นำมาใช้ มีบางเว๊บว่าไว้ประมาณ40KHz ซึ่งผมลองกับแบบของไทย adaptor12v. 1200ma , 5v.2A กับแบต35Ahก็มีฟองก๊าซผุดขึ้นพอควร


ข้อมูลบางส่วนคัดลอกมาจากที่อื่น
สตาร์ทรถแล้ว ไฟต้องไม่ต่ำกว่า 13.1 VDC ถ้าไม่ถึง แสดงว่าไม่รั่วก็ มีโหลดดึงไฟอยู่ ถ้าเร่ง ไฟต้องไม่เกิน 14.6 VDC (แผ่นชาร์ต จำกัดแรงดัน)จะ Charge ให้เต็มแบต หม้อแปลงก็ต้องมีแรงดันมากกว่าแบต แต่หากมากเกินไปกระแสไหลเข้าแบตมากเกินไปเกิดความร้อนพร้อมกับปฏิกิริยา Electrolysis แยกน้ำ ซึ่งจะได้ทั้ง Hydrogen และ Oxygen หากเกิดจนระบายไม่ทันแบตก็พังได้ จึงต้องควบคุมกระแสไม่ให้มากเกิน,เปิดจุกออก และแรงดันก็ต้องไม่ให้มากเกินไปม่ายงั้นหม้อแปลงก็จ่ายกระแสให้แบตไม่หยุด แม้ว่าแบตจะเต็มแล้ว พลังงานส่วนเกินที่เหลือก็จะเปลี่ยนเป็นความร้อนเผา Electrolyte จนแห้ง

การชาร์จแบตไม่ควรใช้แหล่งจ่ายไฟเข้าชาร์จแบตเกิน 10% และ ต่ำกว่า 2%เช่น แบต 75 Amh ควรใช้ ระหว่าง 1.5 - 7.5 Amh ครับแต่จะใช้มากกว่าก็ได้ (แบตร้อนและเสื่อมไว น้ำกลั่นพร่องไว)หรือน้อยกว่าก็ได้ (ไฟจะเพียงพอแค่ช่วยสลายผลึกแต่แทบจะไม่ช่วยชาร์จแบต)

วิธีการยืดอายุแบต
1.ใช้สารเคมีสลายซัลเฟตเติมลงในช่องน้ำกรด
2.ใช้เครื่องสลายทางไฟฟ้า

สาเหตุหลักที่ทำให้แบตเสื่อมเร็ว
1.เกิดการจ่ายประจุมากเกินไป  และไม่ได้ชาร์จในเวลาอันสมควร  คือ  Discharge  ออกมาแล้วปล่อยทิ้งไว้ไม่ชาร์จ –  โอกาสเกิดน้อยมาก
2.เกิดจากความเข้มข้นของกรดซัลฟุริกที่ไม่เหมาะสม  มากไป ( น้ำแห้ง ) หรือ น้อยไป – อยู่ที่เราดูแล
3.ใช้งานที่อุณหภูมิสูงติดต่อกันนานๆ  - ถ้าไม่เกิน 70  องศา  ก็ไม่เป็นไร
4.กรณีไม่ใช้รถนานๆ  หรือ  ไม่มีการชาร์จแบต เช่นจอดรถทิ้งไว้นานๆแล้วไปต่างประเทศ
5.การสะสมของซัลเฟตที่แผ่นธาตุ – ปัจจัยนี้ควบคุมไม่ได้แต่ปัจจุบันได้
6.เกิดการลัดวงจรภายใน
7.สะพานไฟเสียหาย
8. อื่นๆ

อาการสะสมของตะกั่วซัลเฟต
1.เมื่อมีการสะสมของซัลเฟตที่แผ่นธาตุมากๆขึ้น  จะพบว่าเวลาแบตจ่ายไฟจะทำให้ V  ลดลงเร็วมาก  และตอนชาร์จ  ค่า V  ก็จะเพิ่มเร็วมากเนื่องจากค่าความต้านทานภายในสูงขึ้น  ซึ่งเกิดจากการสะสมของซัลเฟตที่แผ่นธาตุ
2.แรงดันไฟฟ้าของแบตต่ำกว่าเกณฑ์
3.กินน้ำกลั่น  เนื่องจากขณะชาร์จ  เกิดฟองแก๊สมากจึงระเหยออกไปได้
4.แผ่นธาตุ  ขรุ  ขระ  แข็ง
จากสาเหตุการเสื่อมของแบต  สาเหตุจากการเกิดซัลเฟต  เป็นสิ่งที่มีผลต่ออายุของแบตมาก  โดยหากสามารถทำการสลายซัลเฟตออกได้ก็เท่ากับยืดอายุของแบตออกไป  ซึ่งอาจเป็น 2 เท่า  ของปกติได้  หรือ  อาจอยู่ได้นานถึง 5 ปี  หากทำการสลายซัลเฟตเป็นประจำ แนะนำให้ทำทุก 2-3เดือน

โครงสร้างแบตเตอร์รี่
1.แผ่นธาตุตะกั่ว
- ขั้วบวก  เป็น  ตะกั่วออกไซด์
- ขั้วลบ   เป็น  ตะกั่ว
2.น้ำกรด (กรดซัลฟุริก ) ที่แผ่นธาตุจมอยู่  เพื่อทำให้เกิดปฎิกริยาเคมี  ระหว่างแผ่นตะกั่ว กับ กรดซัลฟุริก  จนทำให้อิเลคตรอนวิ่งจากขั่วลบไปขั้วบวก  แต่  กระแสไฟฟ้าจะวิ่งจากขั้วบวกไปขั้วลบสาเหตุความเสื่อมของแบตเตอร์รี่  โดยมากเกิดจากการเกาะตัวของซัลเฟตที่แผ่นธาตุ  ซึ่งทำให้ความต้านทานภายในเซลล์สูงขึ้น  จนเป็นอุปสรรคต่อการชาร์จไฟ  และ  จ่ายไฟในช่วงเริ่มแรกของการเกาะตัวของซัลเฟตที่แผ่นธาตุ  การชาร์จไฟจากไดชาร์จหรือ  เครื่องชาร์จ ก็ทำงานได้ลดลง  ซึ่งก็เป็นเหตุให้เกิดการสะสมของซัลเฟตมากขึ้นเรื่อยๆ  จนกระทั่งมากขึ้นแล้วในที่สุดก็ชาร์จไฟไม่เข้า  จ่ายไฟไม่ออก  ที่เราเรียกว่า แบตตาย  ซึ่งมาสาเหตุ90 %   มาจากการสะสมของซัลเฟต อีก 10 % เป็นสาเหตุอื่น
แบตตายแท้จริงแล้วก็เปรียบคล้ายๆอะไหล่รถเก่าเชียงกงคือเอามาล้างทำความสะอาดให้ดูเหมือนใหม่ได้ แต่ยังไงก็ไม่เหมือนของใหม่แกะกล่องและอายุการใช้งานก็เหลือน้อยลงไปตามลำดับการฟื้นฟูแบต ต้องทำตั้งแต่แบตยังใช้งานได้อยู่จึงจะได้ผลดีที่สุดดังนั้นการสลายซัลเฟต  ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องกำเนิดความถี่  หรือ  สารเคมีก็ตาม  ล้วนแล้วแต่เป็นวิธีที่สามารถทำให้แบตมีอายุนานขึ้นแต่จะไม่เหมือนของใหม่ 100%

เครื่องยืดอายุแบต ฟื้นฟูแบต
ใช้เทคโนโลยี  Reverse  Pulse  ที่สามารถสลายซัลเฟตที่เกาะอยู่ที่แผ่นธาตุอย่างได้ผล  ช่วยคืนสภาพแบตเตอร์รี่ให้มีสภาพ  สดใหม่  กำลังไฟแรง  พร้อมทั้งยืดอายุ  แบตเตอร์รี่ได้ด้วย ใช้เทคนิค การควบคุมความถี่ , แอมปลิจูด ของ โวลต์ V,และกระแส A ในลักษณะของพัลส์ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ดีที่สุด ณ ปัจจุบัน ในการสลายซัลเฟต

ข้อดีของการใช้เครื่องฟื้นฟูแบต คือ ในระหว่างการชาร์จไฟ  หรือช่วงฟื้นฟู  อุณหภูมิของแบตเตอร์รี่จะไม่สูง  เมื่อเทียบกับเครื่องชาร์จแบบanalogที่ระหว่างชาร์จจะทำให้อุณหภูมิของแบตสูงกว่า  ซึ่งเท่ากับเป็นการบั่นทอนอายุของแบตเตอร์รี่ด้วยระหว่างการชาร์จไฟ  หรือช่วงฟื้นฟู  การเกิดก๊าซในแบตเตอร์รี่จะน้อยกว่าการชาร์จด้วยเครื่องชาร์จทั่วไประหว่างการชาร์จหรือ  ฟื้นฟู  เครื่องชาร์จ จะทำการ  Balance  ค่า  Voltage  ของแต่ละเซลล์ให้  ซึ่งทำให้การประจุไฟ  สามารถทำได้อย่างสมดุล  ลดปัญหาการจ่ายไฟระหว่างเซลล์ภายในเอง  และป้องกันการเกิด  Over  Voltage  ของเซลล์ใดเซลล์หนึ่งได้


ขั้นตอนการทำงานของเครื่องชาร์จ (ข้อมูลได้มาจาก http://www.technology2029.com/Battery%20lead%20acid%20regenerator.html)

Step 1.  Initial  Testing  การทดสอบเบื้องต้น
เครื่องชาร์จ จะทำการส่ง  Reverse  Pulse  ไปยังแบตเตอร์รี่  เพื่อทำการตรวจเช็คสภาพ  การรับรู้กระแสไฟฟ้าของแบตเตอร์รี่เพื่อดูว่า

แบตยังสามารถชาร์จไฟได้หรือไม่  หรือหากแบตเสื่อมสภาพไปแล้วเครื่องชาร์จ  จะแจ้งผลออกมาและจะไม่ทำงานใน  Step  ต่อไป

Step  2.  Soft  Charge  การชาร์จระยะแรก
เครื่องชาร์จ จะทำการชาร์จด้วยกระแสไฟต่ำ ๆ  ก่อนเพื่อกระตุ้นแบตให้เตรียมรับสภาพประจุไฟฟ้า  ในขั้นตอนนี้หากมีปัญหาภายในแบตเตอร์รี่  เช่น  สะพานไฟภายในไม่ดี  เครื่องชาร์จ  จะหยุดทำงานทันที
เครื่องจะชาร์จด้วยกระแสไฟประมาณ  8%  Rated  หรือ  ( 8 % ) ( 15A )  =  1200  mA

Step  3.  Bulk  Charge  การชาร์จแบบ  Dump  ประจุไฟเข้าไปเป็นช่วงที่ทำการชาร์จประมาณ  80 %  ของทั้ง  8  Step  ในช่วงนี้  เครื่องจะไต่ระดับกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าขึ้นไป  จนกระทั่งค่า  Vของแบตเพิ่มสูงขึ้น  จนถึงค่า  Preset  หรือประมาณ  14.7  V  จากนั้นเครื่องจะเปลี่ยน  Step  การชาร์จในลำดับถัดไป

Step  4.  Absorption  Charge  ( High  Voltage  Stability )
เป็นการชาร์จที่ระดับ  Voltage  สูง  ( 14.7 V )  และที่กระแสสูง  ( Rated  Charging  Current ;  15A )  เพื่อทำให้แบตมีประจุไฟเต็มเร็วขึ้น ช่วงนี้ก็คล้าย ๆ  กับการบดอัดดินให้แน่น  หลังจากถมดินลงไปแล้วในขั้นที่  3

Step  5.  Test
เครื่องชาร์จ  จะหยุดชาร์จ  และลดระดับ  Surface  Voltage  ลงจนถึงค่า ๆ  หนึ่ง  จากนั้นก็ทำให้แบตลดค่า  Voltage ลงอีกจนถึงค่าประมาณ  13.7  V  แล้ว  เครื่องชาร์จ   จะเริ่ม  Charge  กระแสไฟเข้าไปอีกครั้งที่ประมาณ  15  A  (Rated)  แล้วค่อย ๆ  ลดค่ากระแสลงเรื่อย ๆแต่คงระดับ  Voltage  ที่  13.7  V

Step  6., 7.  Float  Charge  และ  Replenish  Charge  (การเติมเต็ม)

Step  8.  Maintenance  Charge  การชาร์จซ่อม
จะคล้าย ๆ  กับการ  Trickle  คือค่อย ๆ  เติมกระแสไฟเข้าไปจนเต็มเปี่ยม  ด้วยเทคนิคการยกระดับ  Voltage  ในแบบ  Jerk  หรือ  การกระตุกเป็นช่วง  ๆการ  Trickle  เปรียบเสมือน  การค่อย  ๆ  รินน้ำลงในขวดจนเต็ม  คือในช่วงแรก  เราอาจกรอกน้ำลงไปได้ทีละมาก ๆ  ( Bulk  Charge )  แต่พอน้ำใกล้เต็มขวด  เราต้องค่อย ๆ  รินเข้าไปทีละน้อย ๆ  น้ำจึงจะเต็มโดยสมบูรณ์แบบเครื่องชาร์จ จะทำการปล่อยคลื่นความถี่ระดับ  Ultrasonic  หรือความถี่เหนือเสียงที่มนุษย์ได้ยิน  (มากกว่า  20,000 Hz)  เข้าไปพร้อมกับการชาร์จ  เพื่อเข้าไปทำการสลายซัลเฟตที่เกาะกับแผ่นธาตูให้หลุดออกมา  แล้วละลายไปกับน้ำกรดในแบเตอร์รี่ทั้งหมดนี้เป็นขั้นตอนการทำงานอันอัจฉริยะ  ควบคุมด้วย  Microprocessor

ข้อควรระวัง

ต้องทำการคีบแบตให้เรียบร้อยก่อน  เสียบปลั๊กไฟ  220 V  มิฉะนั้นเครื่องชาร์จอาจจะเสียหายได้
ระหว่างทำการชาร์จ  ห้ามยกปากคีบออกไปคีบแบตลูกอื่น  เพราะเครื่องชาร์จอาจจะเสียหาย  หากต้องการหยุดการทำงาน  ให้ถอดปลั๊กไฟ  220 VAC เมื่อทำการชาร์จเสร็จแล้วให้ถอดปลั๊กไฟก่อน  แล้วค่อยปลดปากคีบจากแบต โปรดทำตามขั้นตอนโดยเคร่งครัด
สำหรับแบตใหม่ หากสามารถทำการรีเจ็น อย่างน้อยปีละ 2-3ครั้งก็จะสามารถยืดอายุการใช้งานได้อีกเท่าตัว และยังช่วยให้ระบบสตาร์ท ระบบชาร์จ ทำงานได้ดี ไม่โทรมเร็ว

เครื่องนี้เหมาะสำหรับ
ผู้ที่ต้องการยืดอายุแบตให้ได้นานที่สุด
อู่ซ่อมรถยนต์
สนามกอล์ฟ
โรงงาน ที่ใช้รถฟอล์คลิฟต์
เต้นท์รถที่มีปัญหา แบตเตอร์รี่รถยนต์ใช้การไม่ได้
ผู้ที่รับงานการฟื้นฟู ยืดอายุแบต โดยเฉพาะรถ กอล์ฟ รถฟอล์คลิฟ ท ี่แบตเตอร์รี่มีราคาแพง

tieng71@gmail.com

6 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณครับ อ่านที่เดียวกระจ่างเลย

    ตอบลบ
  2. ขอเบอร์โทรด้วยครับ อยากขอคำปรึกษาเรื่องการฟื้นฟูแบตเตอรี่ครับ

    ตอบลบ
  3. แบตที่บ้านใกล้เสียขอความรู้หน่อยครับ
    คำถาม ใส่อะไรดีที่สุดครับ (เกลือยิปซั่ม,โซเดี่ยมซัลเฟต,EDTA)
    คำถาม EDTA ใส่เท่าไหร่ต่อช่องครับ
    คำถาม ใส่เพียงอย่างเดียวหรือใส่หลายๆอย่างรวมกันได้ ถ้าใส่รวมกันได้ สัดส่วนเท่าไหร่ครับ
    คำถาม ถ้าใส่บ่อยๆ แบตจะเสียหรือเปล่าครับ
    คำถาม สารเคมีดังกล่าวให้ใส่ลงไปในช่องเติมน้ำกลั่นเลยหรือต้องไปทำอย่างอื่นก่อนครับ
    คำถาม ใช้ได้ผลประมาณกี่เปอร์เซนต์ครับ
    ถ้าสะดวกจะให้เบอร์โทรเพื่อขอคำปรึกษาจะขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ
  4. ถ้าต้องการซื้อมาใช้ จะซิ้อได้ที่ไหนครับ

    ตอบลบ
  5. ผ่านไปเกือบ2ปี ผมเพิ่งเห็นว่ามีคนถามครับ ต้องขอโทษUncleJoeด้วยครับ ตอนนั้นผมก็ศึกษาและเขียนเป็นบทความเพื่อบันทึกไว้ บางอย่างยังไม่ได้ลองทำครับ บางอย่างก็ทำไปแล้วบ้างครับ
    ปัจจุบัน ผมไม่ได้เติมอะไรลงไปในแบตฯใหม่เลยครับ ผมแค่หาเครื่องชาร์จที่ดีๆหน่อยซักเครื่องแล้วก็ขยันชาร์จหน่อย ก็น่าจะยืดอายุแบตได้ครับ อายุแบตฯขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่เราสตาร์ทรถยนต์ด้วยครับ
    แต่กับแบตฯเก่าผมเอามาใช้กับโซล่าเซล ผมใช้สารละลายสารส้ม แทนน้ำกรดทั้งหมดครับ เพราะหาง่ายราคาถูก ไม่อันตรายครับ ประกอบกับผมมีแบตเก่าที่หมดสภาพที่จะใช้กับรถยนต์ได้แล้ว มีอยู่หลายลูกครับ

    ตอบลบ
  6. สุดยอดของบทความเข้าใจดีครับ

    ตอบลบ