วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557

ToT netcall บน android

TOT netcall ผมสมัครมานานแล้วเผื่อไว้โทรหาญาติที่ต่างประเทศ หรือไว้โทรกลับไทยเวลาไปเที่ยวตปท.  เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีใครใช้กันเท่าไหร่แล้วมั้ง ผมก็เติมเงิน50บาททุกๆปี เพื่อยืดเวลาการใช้งานให้ได้ออกไปอีก1ปี  ส่วนใหญ่ใช้บนandroidมันไม่ค่อยworkเลย (เมื่อก่อนใช้แอพ sipdroid มาตลอด) ใช้ยากมาก มีปัญหาเยอะ แต่ถ้าใช้กับอุปกรณ์แปลงสัญญาณ(pap2t)จะดีกว่า เสียงสนทนาชัดเจนไม่ขาดตอน (ต่อตรงกับโทรศัพท์ธรรมดาอีกที) หรือใช้tot netcallบน i phone ก็ดีกว่าครับ เพราะแอพเค้าทำมาเฉพาะให้ไม่กี่รุ่นที่ i phone มี


บนมือถือ xiaomi mi2s 16GB
โปรแกรม MizuDroid
โทรออกไปเบอร์พื้นฐานของtotง่าย
คุณภาพเสียง มีสดุดเป็นช่วงๆ
เทียบกับsipdroid บนมือถือเครื่องนี้น่าจะดีกว่านะครับ
ดาวน์โหลดมาแล้วตั้งค่าตามนี้ครับ
 ดูรายละเอียดของมือถือที่ใช้ก่อนครับ

เปิดโปรแกรมมาแล้วเลือกใส่ค่าที่ server , username , password ครับ


ใส่เบอร์ tot netcall ของคุณเอง


 ใส่passwordของคุณเอง



ท่านใดใช้แล้วได้ผลอย่างไรช่วยกันแชร์ด้วยครับ 

MizuDroid 1.6.apk 


วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ฟื้นชีพแบตรถยนต์เก่าเก็บ

เป็นแบตที่เติมน้ำกรดแล้วแต่ไม่ได้ใช้นานมากตั้งแต่ปี2549 ตอนนี้ก็ล่วงมาถึงปี2557แล้ว ดูจากสภาพแล้วไม่น่าจะปลุกชีพมันได้เลยเพราะแผ่นธาตุติดกันเป็นก้อนเดียวกันหมดเลย
มาดูสภาพกันก่อนครับ


ที่เห็นเป็นสีส้มๆ เป็นรอยที่เกิดจากที่ผมได้ลองใส่ผงดีเกลือ(ฝรั่ง)ลงไป

ภายในเกลือตะกั่วซัลเฟต(ขาวๆ)เยอะมากครับ ไม่ละลายน้ำด้วย

   ตอนแรกจับใส่ผงดีเกลือลงไปหน่อยแล้วชาร์จด้วยเครื่องชาร์จทำเอง(คาปาซิเตอร์ชาร์จเจอร์)  ชาร์จไปสักพักแบตก็จะอุ่นๆ ไม่มีฟองอากาศ  แสดงว่าแบตไม่มีความสามารถในการทำปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าย้อนกลับเพื่อประจุไฟได้เลย ชาร์จเข้าไปได้นิดเดียว แล้วก็ไม่เข้าอีกเลย  วัดโวลต์ก็ขึ้นมากนิดเดียวจาก1โวลต์กว่าๆมาเป็น2-3โวลต์
  ลองวัดถพ.ดู และหยดน้ำแบตลงพื้นปูนแล้วไม่เกิดฟอง แสดงว่าน้ำในแบตเกือบจะเป็นน้ำเปล่าเลย  กรดแบตแปรสภาพเป็นน้ำไปเกือบเกลี้ยงเลย  เลยเปลี่ยนน้ำในแบตให้มีความพอดีกับกรดแบตและเติมสารละลายดีเกลือลงไปเล็กน้อย แล้วชาร์จด้วยเครื่องชาร์จแบบนี้  http://www.walletdd.com/article/%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E2%80%A6%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86-%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87
    ชาร์จไปได้3วัน3คืน มีฟองเกิดขึ้นน้อยมาก ต้องใช้นิ้วเคาะถึงจะเห็นฟองก๊าซลอยขึ้นมา  และน้ำในแบตเอ่อขึ้นมาเกือบล้นออกมา เพราะว่าฟองออกที่เกิดขึ้นไม่ลอยขึ้นมา อาจเป็นเพราะขี้เกลือขวางทางอยู่
    เลยต้องเปลี่ยนแผน ล้างแบตใส่น้ำร้อน แช่น้ำยาล้างห้องน้ำ1ฝาไว้1ชม. แล้วคว่ำน้ำทิ้ง เติมสารละลายโซดาไบคาร์บอเนต พร้อมปรับสภาพให้เป็นกลาง ล้างน้ำกรอง/น้ำกลั่นอีก2-3รอบ ให้สิ่งสกปรกออกและมีpHเป็นกลาง เสร็จแล้วก็เติมสารละลายalum1ส่วนน้ำกลั่น10ส่วนตอนแรกว่าจะใช้ที่1:16 ลงไปแทนกรดแบตทั้งหมด
    วิธีทำที่ฝรั่งเค้าแนะนำไว้คือ
1.เทน้ำกรดแบตทิ้ง
2.ล้างเอาตะกอนออก
3.ปรับค่าpHให้เป็นกลาง
4.ล้างด้วยน้ำกลั่นอีก2-3รอบ
5.ใส่สารละลายalum 1:16-1:10แทนน้ำกรดแบต
6.ชาร์จเต็มและดิสชาร์จออกให้เหลือโวลต์น้อยๆ 3รอบ
ที่มาของการเติมalum http://www.smartliketruck.com/2010/12/lead-acid-to-alkaline-conversions/
http://www.hho4free.com/bedini_alkaline_battery.htm ฝรั่งเค้าว่ากันว่าราคามันถูกมากและหาได้ง่ายอีกด้วย ผมหาอยู่หลายวันกว่าจะได้มา มันถูกกว่าดีเกลืออีกครับ หาง่ายได้กว่าด้วยครับ
   เสร็จแล้วลองชาร์จดู ผลออกมาแบบเดิม ก็เลยต้องชาร์จด้วยเครื่องชาร์จทรานซิสเตอร์ทิ้งไว้ไปก่อน วันนี้9/2/2557ทำได้แค่นี้ก่อน

   13/2/2557 หลังจากชาร์จได้1วัน ดูแล้วไม่ได้ผล  ก็เลยเทน้ำออกแล้วใส่สารละลายโซดาไฟ(บ้าไปแล้ว) เขย่าๆแล้วน้ำขุ่นๆน้ำตาลดำ  ชาร์จทิ้งไว้อีก2วัน  ก็ไม่ได้เรื่องอะไรเกิดขึ้น  เททิ้งอีกใส่น้ำลงไปบางส่วนแล้วตามด้วยกรดแบตเก่า ชาร์จดูอีก
   14/2/2557 สังเกตุดู2ช่องกลางเหมือนเดิม  แต่2ช่องซ้าย/ขวา มีอาการดีขึ้นพอสมควร แน่จะเป็นเพราะการสลายผลึกเกลือโดยเครื่องชาร์จ การใช้กรดเกลือหรือโซดาไฟกัดช่วยได้นิดเดียว

tieng71@gmail.com



วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การใช้แบตเตอรี่อย่างถูกวิธี

แบบเบื้องต้นได้ผลแน่นอน
1.แบตเตอรี่ธรรมดา (ไม่ใช่MF) หลังจากเติมน้ำ ชาร์จครั้งแรกแบบช้าข้ามคืนด้วยเครื่องแบตฯทั่วๆไป
2.ระหว่างใช้ห้ามปล่อยน้ำในแบตแห้ง และปรับความเข้มข้นให้ได้มาตราฐานทุกปี
3.ไม่ให้แบตมีความร้อนสะสมสูงบ่อยๆ ความร้อนทำให้แบตเสื่อมเร็ว ทำให้น้ำกรดมีความเป็นกรดน้อยลง ซัลเฟอร์บางส่วนแตกตัวกลายเป็นไอเพราะความร้อน  ข้อนี้คงจะทำได้ยากสำหรับบางท่าน ทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร อย่าคิดมาก ทั้งๆที่เป็นสาเหตุที่ทำให้แบตเสื่อมเป็นอันดับต้นๆเลย
4.จำเป็นต้องชาร์จไฟแบบช้าทุกเดือนเพื่อเติมไฟให้เติมตลอดเวลา จะซื้อเครื่องชาร์จ12v.2A. ไว้ชาร์จข้ามคืนที่บ้านก็ได้ แบบนี้เต็มแล้วตัดเอง หรือจะเอาadaptor 13.5v. แบบขดลวดมาชาร์จก็ได้ ราคาไม่น่าต่างกันเกินร้อยบาท
     หากทำได้ทุกข้อโดยไม่ตกซักข้อเลยแบตฯของคุณจะมีอายุถึง5-6ปีได้เลย  แต่หากขาดข้อใดข้อหนึ่งแบตฯก็ยังมีอายุมากกว่าเดิมถึง1.5-2เท่าเลยครับ

ดีเกลือ+battery
    ดีเกลือไทยนี่ดีที่สุด(โซเดียมซัลเฟต) ใช้เติมแบตใหม่หรือแบตเก่า สามารถยืดอายุได้ึถึง3-4เท่าเลยครับ  สัดส่วนที่เหมาะสมให้ใช้ตามนี้
กรดซัลฟูริค=3.5 โมล/ลิตร
โซเดียมซัลเฟต=0.05 โมล/ลิตร
ผมก็ไม่รู้ว่าวัดค่า หรือชั่งตวง ยังไงให้ได้อย่้างนั้น แต่ขอเตือนไว้ก่อนว่าถ้าใช้มากไปจะทำให้แบตพังเร็วกว่าเดิมครับ
http://www.saers.com/recorder/craig/TurquoiseEnergy/Na2SO4.html
http://link.springer.com/article/10.1007%2Fs40242-013-2261-1#page-1
http://www.electrochemsci.org/papers/vol5/5071046.pdf
เติมน้ำโซดา และอื่นๆ  http://homepages.ihug.co.nz/~pcaffell/Battery_Maintanence_Tips.pdf

เรื่องพวกนี้ทำกันมาตั้งแต่ยุค70กันแล้วครับ

วันนี้ลองฟื้นฟูแบตlead acid

แนวทางการซ่อมแบตที่หมดสภาพแล้ว
    อันนี้เป็นการซ่อมแบตเก่าที่ใช้startรถไม่ได้แล้ว และนำมาใช้กับsolar cell เท่านั้นครับ ส่วนการดูแลรักษาแบตให้ใช้ได้นานก็ใช้วิธีนี้เหมือนกันแต่ให้ทำตั้งแต่เนิ่นๆ ไว้จะสรุปอีกที (มีเว็บแนะนำเยอะแยะ)

    จากที่ได้เกริ่นนำเรื่องการสลายผลึกเกลือ และได้ลองทำดู พอที่จะสรุปวิธีที่เหมาะกับตัวเองดังนี้
1.ปรับความเข้มข้นกรดให้ได้1250-1260 จะเททิ้งเลยแล้วซื้อแบบสำเร็จมาเติม หรือจะเทลงในกาละมังแล้วเอาที่ใสๆมาปรับกรดเอาไปใช้ต่อ ก็ได้
2.ละลายดีเกลือ(ฝรั่ง/ไทย ได้ทั้งนั้น)ในน้ำร้อนจนอิ่มตัวและทิ้งไว้ให้เย็น
3.เติมสารละลายดีเกลือลงไปในแบตหรือผสมกับน้ำกรดแบตฯก่อนเติมก็ได้ กะประมาณให้ได้เท่ากับ1/2-2ช้อนชาของดีเกลือแห้งในแต่ละช่อง แล้วแต่ขนาดแบต35-85Ah
4.ชาร์จแบตด้วยเครื่องชาร์จแบตแบบช้า ผมชอบแบบตามนี้  http://www.walletdd.com/article/%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E2%80%A6%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86-%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87 (ยังไม่ได้ซื้อเครื่องชาร์จแบตฯเลยลองDIYไปก่อน) เพราะว่าชาร์จได้ตั้งแต่แบต0v.ถึง12.5v. และก็สลายผลึกเกลือไปด้วย  แบบที่ว่าควรติดheat sinkให้กันทรานซิสเตอร์ด้วยครับ มันร้อนมาก ของผมติดและเอาheat sink แช่น้ำไว้เลยครับ แต่ถ้าใช้adaptor12v.หรือ13.5v. adaptorอาจเสียหายได้ เพราะไม่สามารถใช้ชาร์จโวลต์ต่ำๆได้  เห็นว่าชาร์จได้ไม่เกิน12.5v. http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=90566.0  ชาร์จทิ้งไว้เลยครับในyoutubeเค้าลองทิ้งไว้30วัน ผลึกเกลือขาวๆหายหมดเลยครับ

หลังจากแบตมีโวลต์ขึ้นมาถึง11-12v.ก็สามารถใช้adaptorต่อตรงได้แล้ว และก็พ่วงเครื่องสลายผลึกเกลือที่ทำขายกัน เพราะว่ามีความถี่ไม่เท่ากับที่ผมทำเอง ลองให้แบตได้ถูกกระตุ้นได้หลายๆความถี่  จากที่ดูyoutube แบตจะถูกกระตุ้นได้หลากหลายความถี่ตามเครื่องที่ผลิตในแบบต่างๆ แต่ที่เห็นในaliexpressจะอยู่ที่10KHz. ผมก็ทำเองและซื้อมาลองทั้งของaliexpressและของไทยทำ ของพี่เค้ารับประกันแบบไม่มีกำหนด เสียเมื่อไหร่ก็เอาไปแลกอันใหม่มาครับ ราคาก็น่าพอใจพอๆกันครับ

ลองแล้วแบตเอากลับมาใช้ได้จริงมั้ย
อันนี้ก็แล้วแต่แบตที่เอามาทำครับ แต่ที่แน่ๆแบตที่มีค่าเหลือแค่2.5v. ผมก็ชาร์จเข้ามาแล้ว และเอากลับมาใช้กับsolar cellได้อีก แต่บางทีก็ไปเจอแบตช็อตตูดมา ทำให้ได้โวลต์ไม่ถึง12v. คือระหว่างช่องแบตมันทะลุถึงกัน

แบตช็อตตูด นี่ผมเจอกับแบตฯที่มากับรถโตโยต้าทั้ง3ลูกเลยครับ ตอนนั้นใช้วิธีล้างแบตทำสาว ผมเลยรู้สึกไม่ดีกับวิธีล้างแบตทำสาว ต้มน้ำร้อนใส่น้ำกรดเกลือเลยครับ สงสัยใส่กรดเกลือเยอะไป

แบตที่ทำง่ายที่สุดคือแบตที่เพิ่มหมดสภาพ
แบตที่ใช้เวลาแก้นานที่สุดคือแบตที่เติมน้ำกรดแล้วเก็บไว้นานๆ ไม่ได้ใช้


หาวิธี DIY shunt (ชั้น) เพื่อทำแอมป์มิเตอร์

shunt เป็นตัวนำที่ใช้วัดค่าโวลต์ที่ลดดงตามระยะทางของตัวนำ=0.001ohm เพื่อนำมาวัดกระแสDC.

ลองเทียบค่า(ไม่รู้ว่าเข้าถูกมั้ย,ไม่เรียนมาทางนี้)

Wire Length (feet) =
1000 * Target Resistance (Ohms)

Ohms per 1,000 feet

สายVFF 5.0sq.mm. จะอยู่ประมาณ 10.22 awg  แล้วนำมาคำนวณแล้วจะได้ระยะ25.37ซม.
สายVFF 2.5sq.mm. จะอยู่ประมาณ 13.30 awg  แล้วนำมาคำนวณแล้วจะได้ระยะ14.13ซม.
สายVFF 1.5sq.mm. จะอยู่ประมาณ 15.41 awg  แล้วนำมาคำนวณแล้วจะได้ระยะ 8.30ซม.
สายVFF 1.0sq.mm. จะอยู่ประมาณ 17.16 awg  แล้วนำมาคำนวณแล้วจะได้ระยะ 4.94ซม.

   เอาแบบDIY(กรูทำเองสุดๆ) ให้เปิดแผลสายไฟสีดำ (-) ห่างกันตามค่าดังกล่าว แล้วใช้มิเตอร์วัดเลยครับ ให้ปรับมิเตอร์ไปที่ mVDC.
   ลองวัดกับสายVFF2.5sq.mm. ที่ระยะ14ซม. กับcapacitive charger (ตามแบบคุณริชชาร์จhttp://poormanguides.blogspot.com/2009/05/updated-chargerdesulfator.html?m=1) มีคาปาซิเตอร์=36mfd,42mfd วัดค่าได้ที่ 2.3mV. , 2.75mV. ตามลำดับ ขณะที่ตามการคำนวณ(=2*(22/7)*V*ความถี่*ความจุcapacity)จะต้องเท่ากับ2.56mV. , 3.02mV. ตามลำดับ

ก็ยังงงๆอยู่ว่าทำไมdiyอีกเว็บทำไมได้ยาวจัง  http://cheapampmeter.blogspot.com/2009/08/cheap-diy-digital-amp-meter.html (มันเป็นของฝรั่งมั้ง)


แหล่งข้อมูล
http://www.reuk.co.uk/Make-a-Shunt-Resistor.htm
http://www.reuk.co.uk/AWG-to-Square-mm-Wire-Size-Converter.htm
http://amasci.com/tesla/wire1.html

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

รวบรวมการยืดอายุแบต-การฟื้นฟูแบตเตอรี่ Lead-Acid

วิธีการยืดอายุแบต-การฟื้นฟูแบตเตอรี่Lead-Acid มีหลายวิธี
1.ใช้สารเคมีสลายซัลเฟตเติมลงในช่องน้ำกรด
เช่นล้างแบตทำสาว , ล้างด้วยน้ำร้อน ,ใช้สารเคมีเติมลงไปในแบต (EDTA,ดีเกลือไทยคือโซเดียมซัลเฟต,ดีเกลือฝรั่งคือแมกนีเซียมซัลเฟต หรือที่รู้จักกันในชื่อ เกลือยิปซัม (Epsom salts) ใช้เป็นยาระบาย) และใช้วงจรพัลส์สลายผลึกตะกั่วซัลเฟต(ผลึกเกลือ) ซึ่งวิธีทั้งหมดทำเพื่อเอาผลึกเกลือออกทั้งสิ้น เมื่อเอาออกแล้วแผ่นธาตุจะบางลงและมีไฟแรงขึ้นแต่ก็ไม่เท่าของใหม่ แล้วเมื่อแผ่นธาตุบางลงมากๆแล้ว ก็มีโอกาสแตกหักได้ง่าย การที่จะใช้แบตเก่ากับรถยนต์ต่อไปก็เสี่ยงที่จะได้กินข้าวลิง เพราะไม่รู้ว่าแผ่นธาตุจะแตกเมื่อไหร่
-การฟื้นฟูแบตเตอรี่ ควรทำทุกๆรอบ1ปี เพื่อขจัดตะกอนตะกั่วและผลึกเกลือไม่ให้เบียดกันจนแบตบวม ตะกอนตะกั่วที่เทออกมาให้นำเก็บไว้เท กลับลงไปในแบตเมื่อแบตเสีย แล้วค่อยเอาไปชั่งกิโลขาย ไม่ควรเททิ้งลงพื้น เพราะเป็นสารพิษตกค้างยาวนาน
-ส่วนน้ำกรดในแบตคือกรดกำมะถัน หรือกรดซัลฟูริค มีลักษณะใสไม่มีกลิ่น ทำลายปอดได้ ระเหยได้ในอุณหภูมิห้อง แต่เมื่อโดนความร้อนซัลเฟอร์จะระเหยออกกลายเป็นก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งมีกลิ่นกำมะถัน กรดที่มีถ.พ.(ความถ่วงจำเพาะ)1250จึงจะเหมาะสมที่จะใช้กับแบต การที่หลายๆท่านบอกว่าต้องเททิ้งเพราะไม่มีเครื่องวัดถ.พ. และยุ่งยากในการปรับถ.พ. ซึ่งเราสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยทิ้งให้ตกตะกอนแล้วเอาเฉพาะน้ำกรดใสๆมาใช้ได้แล้วมาปรับกรดอีกที  แต่ถ้าต้องการเททิ้ง ควรทำให้เป็นกลางด้วยแบคกิ้งโซดา หรือน้ำปูน หินปูน
-การล้างแบตทำสาว ในขั้นตอนที่ใส่กรดเกลือ การใส่น้ำยาล้างห้องน้ำมากเกินไป อาจทำให้แผ่นแตกและเสียหายได้ เช่นกันกับการใส่ดีเกลือก็ไม่ควรใส่มากเกินไป สำหรับแบตเก่า35Ah ให้เริ่มที่1/2-3/4ช้อนชา ละลายน้ำ แล้วแบ่งใส่ให้เท่าๆกันทั้ง6ช่อง แล้วค่อยๆปรับเพิ่มขึ้นหากต้องการ
-ดีเกลือSodium Sulfate Salt (Na2SO4) มีข้อมูลตามเว๊บ http://members.shaw.ca/Craig-C/Na2SO4.html ได้บอกว่าสามารถยืดอายุแบตได้ถึง3-4เท่าเลยครับ
ปริมาณที่ใช้สำหรับแบตใหม่ หน่วยเป็นปอนด์ ปริมาณการใส่ดีเกลือช่องละ2.5-3กรัมต่อน้ำหนักแบต5ปอนด์
(small car batteries 28-34 pounds)
(medium car battery 33-40 pounds)
(typical 45-55 pound "size 27" deep cycle battery)
-ดีเกลือฝรั่ง magnesium sulfate Salt
มีหลายเว๊บของฝรั่งเขียนไว้มากมาย อ่านไม่ไหว เอาเป็นว่าให้ใส่เท่ากับ Sodium Sulfate Salt หรือน้อยกว่าก็ได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นแม็กนีเซียมหรือโซเดียม ทั้ง2ตัวนี้จะเข้าไปขัดขวางการรวมตัวของเกลือตะกั่วไม่ให้เป็นผลึกใหญ่ ผลึกใหญ่เป็นสาเหตุทำให้แบตเสื่อม และแน่นอนการเกิดปฏิกิริยาไปกลับระหว่างตะกั่วซัลเฟต,ตะกั่ว,ตะกั่วออกไซด์ จะมีอนุภาคตะกั่วบางส่วนไม่เกาะหรือเกาะไม่แน่นกับแผ่นธาตุ แล้วจะมีตะกอนตะกั่วตกลงไปที่ก้นแบตหรือตกค้างระหว่างแผ่นธาตุ

2.ใช้เครื่องสลายทางไฟฟ้า-วงจรสลายผลึกเกลือ ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องชาร์จแบตในตัวเดียวกัน
2.1.มีทั้งแบบเฉพาะเครื่องสลาย และแบบชาร์จไปสลายไปในเวลาเดียวกัน  ที่ทำขายกันอ้างว่าความถี่พัลส์ที่เหมาะสมจะเท่ากับ10KHz (ของไทยทำเป็น1KHz http://www.vlovepeugeot.com/forum/index.php?topic=8665.0) ใช้ติดข้างๆแบตในรถยนต์ได้เลยหรือใช้ร่วมกับเครื่องชาร์จภายนอกได้ การชาร์จแบตไม่ควรใช้แหล่งจ่ายไฟเข้าชาร์จแบตเกิน 10% และ ต่ำกว่า 2%   เช่น แบต 75 Amh ควรใช้ ระหว่าง 1.5 -7.5 Amh ครับ แต่จะใช้มากกว่าก็ได้ (แบตร้อนและเสื่อมไว น้ำกลั่นพร่องไว) หรือน้อยกว่าก็ได้ (ไฟจะเพียงพอแค่ช่วยสลายผลึกแต่แทบจะไม่ช่วยชาร์จแบต)

2.2.แบบHome made สลายผลึกเกลือและชาร์จได้หลากหลายแรงดันด้วยเครื่องเดียว  แต่ไม่มีวงจรตัดไฟเมื่อแบตเต็ม แบบง่ายทำได้เอง มี2แบบ คือ
2.2.1แบบที่ใช้ คาปาซิเตอร์กับไดโอดบริจด์ http://poormanguides.blogspot.com/2009/05/updated-chargerdesulfator.html แบบนี้จะชาร์จแบตได้ตั้งแต่ 6v. ไปจนถึงหลายๆโวลต์ แต่ไฟแรงสูงและมีอันตราย ให้ความถี่พัลส์เป็น2เท่าของความถี่ไฟบ้าน ให้ใช้คีมคีบขั้วแบตก่อนเปิดสวิตท์ทุกครั้ง และปิดสวิตท์ก่อนเอาออกทุกครั้ง การที่ไม่คีบขั้วแบตก่อนอาจทำให้อุปกรณ์ชำรุด และมีไฟขาออกสูงถึง 340V.100Hzสำหรับไฟบ้าน220V.50Hz , 170V.120Hzสำหรับ 110V. 60Hz  แอมป์ที่ได้จะเท่ากับ 2*22/7*230*50*ความจุคาปาซิเตอร์30MFD(ไมโครฟารัด)=2.16857แอมป์ แต่ถ้าคีบขั้วแบตก่อนเครื่องชาร์จจะจ่ายไฟเพื่ออย่างเหมาะสมเอง กระแสที่เหมาะสมให้สังเกตุที่แบตว่าขณะชาร์จ แบตต้องไม่ร้อน ผมลองที่12MFDกับแบต85Ahมีฟองมากพอสมควรและแบตไม่ร้อน ,และลอง30MFDกับแบต35Ahแล้วทำให้แบตร้อน
2.2.2แบบขดลวด+ทรานซิสเตอร์+R
http://www.walletdd.com/article/%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E2%80%A6%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86-%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87
จะให้ความถี่สูงหลายช่วงแล้วแต่อุปกรณ์ที่นำมาใช้ มีบางเว๊บว่าไว้ประมาณ40KHz ซึ่งผมลองกับแบบของไทย adaptor12v. 1200ma , 5v.2A กับแบต35Ahก็มีฟองก๊าซผุดขึ้นพอควร


ข้อมูลบางส่วนคัดลอกมาจากที่อื่น
สตาร์ทรถแล้ว ไฟต้องไม่ต่ำกว่า 13.1 VDC ถ้าไม่ถึง แสดงว่าไม่รั่วก็ มีโหลดดึงไฟอยู่ ถ้าเร่ง ไฟต้องไม่เกิน 14.6 VDC (แผ่นชาร์ต จำกัดแรงดัน)จะ Charge ให้เต็มแบต หม้อแปลงก็ต้องมีแรงดันมากกว่าแบต แต่หากมากเกินไปกระแสไหลเข้าแบตมากเกินไปเกิดความร้อนพร้อมกับปฏิกิริยา Electrolysis แยกน้ำ ซึ่งจะได้ทั้ง Hydrogen และ Oxygen หากเกิดจนระบายไม่ทันแบตก็พังได้ จึงต้องควบคุมกระแสไม่ให้มากเกิน,เปิดจุกออก และแรงดันก็ต้องไม่ให้มากเกินไปม่ายงั้นหม้อแปลงก็จ่ายกระแสให้แบตไม่หยุด แม้ว่าแบตจะเต็มแล้ว พลังงานส่วนเกินที่เหลือก็จะเปลี่ยนเป็นความร้อนเผา Electrolyte จนแห้ง

การชาร์จแบตไม่ควรใช้แหล่งจ่ายไฟเข้าชาร์จแบตเกิน 10% และ ต่ำกว่า 2%เช่น แบต 75 Amh ควรใช้ ระหว่าง 1.5 - 7.5 Amh ครับแต่จะใช้มากกว่าก็ได้ (แบตร้อนและเสื่อมไว น้ำกลั่นพร่องไว)หรือน้อยกว่าก็ได้ (ไฟจะเพียงพอแค่ช่วยสลายผลึกแต่แทบจะไม่ช่วยชาร์จแบต)

วิธีการยืดอายุแบต
1.ใช้สารเคมีสลายซัลเฟตเติมลงในช่องน้ำกรด
2.ใช้เครื่องสลายทางไฟฟ้า

สาเหตุหลักที่ทำให้แบตเสื่อมเร็ว
1.เกิดการจ่ายประจุมากเกินไป  และไม่ได้ชาร์จในเวลาอันสมควร  คือ  Discharge  ออกมาแล้วปล่อยทิ้งไว้ไม่ชาร์จ –  โอกาสเกิดน้อยมาก
2.เกิดจากความเข้มข้นของกรดซัลฟุริกที่ไม่เหมาะสม  มากไป ( น้ำแห้ง ) หรือ น้อยไป – อยู่ที่เราดูแล
3.ใช้งานที่อุณหภูมิสูงติดต่อกันนานๆ  - ถ้าไม่เกิน 70  องศา  ก็ไม่เป็นไร
4.กรณีไม่ใช้รถนานๆ  หรือ  ไม่มีการชาร์จแบต เช่นจอดรถทิ้งไว้นานๆแล้วไปต่างประเทศ
5.การสะสมของซัลเฟตที่แผ่นธาตุ – ปัจจัยนี้ควบคุมไม่ได้แต่ปัจจุบันได้
6.เกิดการลัดวงจรภายใน
7.สะพานไฟเสียหาย
8. อื่นๆ

อาการสะสมของตะกั่วซัลเฟต
1.เมื่อมีการสะสมของซัลเฟตที่แผ่นธาตุมากๆขึ้น  จะพบว่าเวลาแบตจ่ายไฟจะทำให้ V  ลดลงเร็วมาก  และตอนชาร์จ  ค่า V  ก็จะเพิ่มเร็วมากเนื่องจากค่าความต้านทานภายในสูงขึ้น  ซึ่งเกิดจากการสะสมของซัลเฟตที่แผ่นธาตุ
2.แรงดันไฟฟ้าของแบตต่ำกว่าเกณฑ์
3.กินน้ำกลั่น  เนื่องจากขณะชาร์จ  เกิดฟองแก๊สมากจึงระเหยออกไปได้
4.แผ่นธาตุ  ขรุ  ขระ  แข็ง
จากสาเหตุการเสื่อมของแบต  สาเหตุจากการเกิดซัลเฟต  เป็นสิ่งที่มีผลต่ออายุของแบตมาก  โดยหากสามารถทำการสลายซัลเฟตออกได้ก็เท่ากับยืดอายุของแบตออกไป  ซึ่งอาจเป็น 2 เท่า  ของปกติได้  หรือ  อาจอยู่ได้นานถึง 5 ปี  หากทำการสลายซัลเฟตเป็นประจำ แนะนำให้ทำทุก 2-3เดือน

โครงสร้างแบตเตอร์รี่
1.แผ่นธาตุตะกั่ว
- ขั้วบวก  เป็น  ตะกั่วออกไซด์
- ขั้วลบ   เป็น  ตะกั่ว
2.น้ำกรด (กรดซัลฟุริก ) ที่แผ่นธาตุจมอยู่  เพื่อทำให้เกิดปฎิกริยาเคมี  ระหว่างแผ่นตะกั่ว กับ กรดซัลฟุริก  จนทำให้อิเลคตรอนวิ่งจากขั่วลบไปขั้วบวก  แต่  กระแสไฟฟ้าจะวิ่งจากขั้วบวกไปขั้วลบสาเหตุความเสื่อมของแบตเตอร์รี่  โดยมากเกิดจากการเกาะตัวของซัลเฟตที่แผ่นธาตุ  ซึ่งทำให้ความต้านทานภายในเซลล์สูงขึ้น  จนเป็นอุปสรรคต่อการชาร์จไฟ  และ  จ่ายไฟในช่วงเริ่มแรกของการเกาะตัวของซัลเฟตที่แผ่นธาตุ  การชาร์จไฟจากไดชาร์จหรือ  เครื่องชาร์จ ก็ทำงานได้ลดลง  ซึ่งก็เป็นเหตุให้เกิดการสะสมของซัลเฟตมากขึ้นเรื่อยๆ  จนกระทั่งมากขึ้นแล้วในที่สุดก็ชาร์จไฟไม่เข้า  จ่ายไฟไม่ออก  ที่เราเรียกว่า แบตตาย  ซึ่งมาสาเหตุ90 %   มาจากการสะสมของซัลเฟต อีก 10 % เป็นสาเหตุอื่น
แบตตายแท้จริงแล้วก็เปรียบคล้ายๆอะไหล่รถเก่าเชียงกงคือเอามาล้างทำความสะอาดให้ดูเหมือนใหม่ได้ แต่ยังไงก็ไม่เหมือนของใหม่แกะกล่องและอายุการใช้งานก็เหลือน้อยลงไปตามลำดับการฟื้นฟูแบต ต้องทำตั้งแต่แบตยังใช้งานได้อยู่จึงจะได้ผลดีที่สุดดังนั้นการสลายซัลเฟต  ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องกำเนิดความถี่  หรือ  สารเคมีก็ตาม  ล้วนแล้วแต่เป็นวิธีที่สามารถทำให้แบตมีอายุนานขึ้นแต่จะไม่เหมือนของใหม่ 100%

เครื่องยืดอายุแบต ฟื้นฟูแบต
ใช้เทคโนโลยี  Reverse  Pulse  ที่สามารถสลายซัลเฟตที่เกาะอยู่ที่แผ่นธาตุอย่างได้ผล  ช่วยคืนสภาพแบตเตอร์รี่ให้มีสภาพ  สดใหม่  กำลังไฟแรง  พร้อมทั้งยืดอายุ  แบตเตอร์รี่ได้ด้วย ใช้เทคนิค การควบคุมความถี่ , แอมปลิจูด ของ โวลต์ V,และกระแส A ในลักษณะของพัลส์ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ดีที่สุด ณ ปัจจุบัน ในการสลายซัลเฟต

ข้อดีของการใช้เครื่องฟื้นฟูแบต คือ ในระหว่างการชาร์จไฟ  หรือช่วงฟื้นฟู  อุณหภูมิของแบตเตอร์รี่จะไม่สูง  เมื่อเทียบกับเครื่องชาร์จแบบanalogที่ระหว่างชาร์จจะทำให้อุณหภูมิของแบตสูงกว่า  ซึ่งเท่ากับเป็นการบั่นทอนอายุของแบตเตอร์รี่ด้วยระหว่างการชาร์จไฟ  หรือช่วงฟื้นฟู  การเกิดก๊าซในแบตเตอร์รี่จะน้อยกว่าการชาร์จด้วยเครื่องชาร์จทั่วไประหว่างการชาร์จหรือ  ฟื้นฟู  เครื่องชาร์จ จะทำการ  Balance  ค่า  Voltage  ของแต่ละเซลล์ให้  ซึ่งทำให้การประจุไฟ  สามารถทำได้อย่างสมดุล  ลดปัญหาการจ่ายไฟระหว่างเซลล์ภายในเอง  และป้องกันการเกิด  Over  Voltage  ของเซลล์ใดเซลล์หนึ่งได้


ขั้นตอนการทำงานของเครื่องชาร์จ (ข้อมูลได้มาจาก http://www.technology2029.com/Battery%20lead%20acid%20regenerator.html)

Step 1.  Initial  Testing  การทดสอบเบื้องต้น
เครื่องชาร์จ จะทำการส่ง  Reverse  Pulse  ไปยังแบตเตอร์รี่  เพื่อทำการตรวจเช็คสภาพ  การรับรู้กระแสไฟฟ้าของแบตเตอร์รี่เพื่อดูว่า

แบตยังสามารถชาร์จไฟได้หรือไม่  หรือหากแบตเสื่อมสภาพไปแล้วเครื่องชาร์จ  จะแจ้งผลออกมาและจะไม่ทำงานใน  Step  ต่อไป

Step  2.  Soft  Charge  การชาร์จระยะแรก
เครื่องชาร์จ จะทำการชาร์จด้วยกระแสไฟต่ำ ๆ  ก่อนเพื่อกระตุ้นแบตให้เตรียมรับสภาพประจุไฟฟ้า  ในขั้นตอนนี้หากมีปัญหาภายในแบตเตอร์รี่  เช่น  สะพานไฟภายในไม่ดี  เครื่องชาร์จ  จะหยุดทำงานทันที
เครื่องจะชาร์จด้วยกระแสไฟประมาณ  8%  Rated  หรือ  ( 8 % ) ( 15A )  =  1200  mA

Step  3.  Bulk  Charge  การชาร์จแบบ  Dump  ประจุไฟเข้าไปเป็นช่วงที่ทำการชาร์จประมาณ  80 %  ของทั้ง  8  Step  ในช่วงนี้  เครื่องจะไต่ระดับกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าขึ้นไป  จนกระทั่งค่า  Vของแบตเพิ่มสูงขึ้น  จนถึงค่า  Preset  หรือประมาณ  14.7  V  จากนั้นเครื่องจะเปลี่ยน  Step  การชาร์จในลำดับถัดไป

Step  4.  Absorption  Charge  ( High  Voltage  Stability )
เป็นการชาร์จที่ระดับ  Voltage  สูง  ( 14.7 V )  และที่กระแสสูง  ( Rated  Charging  Current ;  15A )  เพื่อทำให้แบตมีประจุไฟเต็มเร็วขึ้น ช่วงนี้ก็คล้าย ๆ  กับการบดอัดดินให้แน่น  หลังจากถมดินลงไปแล้วในขั้นที่  3

Step  5.  Test
เครื่องชาร์จ  จะหยุดชาร์จ  และลดระดับ  Surface  Voltage  ลงจนถึงค่า ๆ  หนึ่ง  จากนั้นก็ทำให้แบตลดค่า  Voltage ลงอีกจนถึงค่าประมาณ  13.7  V  แล้ว  เครื่องชาร์จ   จะเริ่ม  Charge  กระแสไฟเข้าไปอีกครั้งที่ประมาณ  15  A  (Rated)  แล้วค่อย ๆ  ลดค่ากระแสลงเรื่อย ๆแต่คงระดับ  Voltage  ที่  13.7  V

Step  6., 7.  Float  Charge  และ  Replenish  Charge  (การเติมเต็ม)

Step  8.  Maintenance  Charge  การชาร์จซ่อม
จะคล้าย ๆ  กับการ  Trickle  คือค่อย ๆ  เติมกระแสไฟเข้าไปจนเต็มเปี่ยม  ด้วยเทคนิคการยกระดับ  Voltage  ในแบบ  Jerk  หรือ  การกระตุกเป็นช่วง  ๆการ  Trickle  เปรียบเสมือน  การค่อย  ๆ  รินน้ำลงในขวดจนเต็ม  คือในช่วงแรก  เราอาจกรอกน้ำลงไปได้ทีละมาก ๆ  ( Bulk  Charge )  แต่พอน้ำใกล้เต็มขวด  เราต้องค่อย ๆ  รินเข้าไปทีละน้อย ๆ  น้ำจึงจะเต็มโดยสมบูรณ์แบบเครื่องชาร์จ จะทำการปล่อยคลื่นความถี่ระดับ  Ultrasonic  หรือความถี่เหนือเสียงที่มนุษย์ได้ยิน  (มากกว่า  20,000 Hz)  เข้าไปพร้อมกับการชาร์จ  เพื่อเข้าไปทำการสลายซัลเฟตที่เกาะกับแผ่นธาตูให้หลุดออกมา  แล้วละลายไปกับน้ำกรดในแบเตอร์รี่ทั้งหมดนี้เป็นขั้นตอนการทำงานอันอัจฉริยะ  ควบคุมด้วย  Microprocessor

ข้อควรระวัง

ต้องทำการคีบแบตให้เรียบร้อยก่อน  เสียบปลั๊กไฟ  220 V  มิฉะนั้นเครื่องชาร์จอาจจะเสียหายได้
ระหว่างทำการชาร์จ  ห้ามยกปากคีบออกไปคีบแบตลูกอื่น  เพราะเครื่องชาร์จอาจจะเสียหาย  หากต้องการหยุดการทำงาน  ให้ถอดปลั๊กไฟ  220 VAC เมื่อทำการชาร์จเสร็จแล้วให้ถอดปลั๊กไฟก่อน  แล้วค่อยปลดปากคีบจากแบต โปรดทำตามขั้นตอนโดยเคร่งครัด
สำหรับแบตใหม่ หากสามารถทำการรีเจ็น อย่างน้อยปีละ 2-3ครั้งก็จะสามารถยืดอายุการใช้งานได้อีกเท่าตัว และยังช่วยให้ระบบสตาร์ท ระบบชาร์จ ทำงานได้ดี ไม่โทรมเร็ว

เครื่องนี้เหมาะสำหรับ
ผู้ที่ต้องการยืดอายุแบตให้ได้นานที่สุด
อู่ซ่อมรถยนต์
สนามกอล์ฟ
โรงงาน ที่ใช้รถฟอล์คลิฟต์
เต้นท์รถที่มีปัญหา แบตเตอร์รี่รถยนต์ใช้การไม่ได้
ผู้ที่รับงานการฟื้นฟู ยืดอายุแบต โดยเฉพาะรถ กอล์ฟ รถฟอล์คลิฟ ท ี่แบตเตอร์รี่มีราคาแพง

tieng71@gmail.com