วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เชื้อราบิวเวอร์เรีย

การเพาะเชื้อราบิวเวอร์เรีย...  คัดลอกจาก http://www.bio-agri.com/beauveria/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2.html

เพื่่อเป็นความรู้  เป็นเชื้อที่เพาะยากมากสำหรับผม  ดังนั้นแนะนำให้ซื้อใช้ดีกว่าครับ
การเพาะเชื้อด้วยข้าวโพด

ดูที่เทคนิคที่ได้จากประสบการณ์เพาะเชื้อจริงจากการทดลองมาหลายปี

1. การเลือกข้าวโพด ควรจะมาจากไรเพราะถ้าซื้อจากลานมักจะอบยา(อะไรไม่ทราบ)จะทำให้เชื้อราไม่ขยายต่อ เชื้อราที่เพาะไว้จะเดินได้ไม่เต็มที่และข้าวโพดจะเน่าเสีย

2. การแช่ นำข้าวโพดล้างน้ำสะอาด(น้ำปะปาไม่ควรใช้น้ำคลอง) 1 รอบ เอาผงละอองและเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์(เมล็ดที่ลอยน้ำ) แล้วนำข้าวโพดที่ล้างแล้ว แช่น้ำสะอาดไว้ 1 คืน แล้วนำมาผึ่งโดยใช้ผ้าใบรอง(สะอาดนิดหนึ่ง)ให้พอมาด(ไม่แห้งแต่ไม่แฉะ)

3. การกรอกใส่ถุง กรอกใส่ถุง(ถุงที่ใช้เพาะเห็ดทดความร้อน)ประมาณ 500 กรัม ใส่คอขวด อุดปากถุงด้วยสำลีหรือเศษผ้า

4. การนึ่ง นำถุงที่บรรจุข้าวโพดแล้วไปนึ่ง หากใช้หม้อนึ่งความดันจะดีมาก ควบคุมความดันที่ 1.25 bar อุณหภมิ 110-120 C ใช้เวลา 1 ชม.หากเป็นหม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง(ถังน้ำมัน 200 ลิตร) ใช้เวลานึ่ง 2-3 ชม. ไม่ควรนึ่งนานเพราะพวดโพดจะสุกจนนิ่ม สังเกตุเวลานำออกจากหม้อนึ่งหากมีนำขังหรือข้าวโพดเละก็ไม่ควรนำไปเขี่ยเชื้อเพราะถึงเขี่ยไปก็เสียเวลาเสียแรงเชื้อจะไม่เดิน แต่ถ้านึ่งเร็วเกินไปเชื้ออื่่นๆในข้าวโพดยังไม่ตายก็เสียอีกเหมือนกันเพราะจะมีเชื้อราอื่นๆป่นอยู่และมักจะโตเร็วทำให้เชื้อที่เราเขี่ยเดินได้น้อย พักไว้ให้เย็น

5. การเขี่ยเชื้อ แนะนำให้ทำห้องสะอาดสำหรับการเขี่ยเชื้อโดยเฉพาะสาเหตุคือการเขี่ยเชื้อในที่โล่งจะมีเชื้อราอื่นๆที่ปลิวมาตามลมเข้าไปปนได้(อันนี้เรื่องจริงจากประสบการณ์เขี่ย ในที่โล่งจะมีเชื้ออื่นปนประมาณ 30% เขี่ยในห้องมีประมาณ 1-2%) และต้องเขี่ยในตู้เขี่ยอีกที

5.1 อุปกรณ์เขี่ยเชื้อ
   1) หัวเชื้อราบิวเวอร์เรีย แนะนำให้ใช้หัวเชื้อจากศูนย์บริหารศตรูพืช ชัยนาท
   2) ตู้เขี่ยเชื้อ ติดตั้งหลอดไฟส่องสว่าง และหลอด UV ฆ่าเชื้อ
   3) ตะเกียงแอลกอฮอ
   4) ไฟเช็ค
   5) แอลกอฮอ 1 แก้วเล็ก
   6) แอลกอฮอในกระบอกฉีด(ฟอกกี้)
   7) เข็มเขี่ยเชื้อ

5.2 การเตรียมการ นำ ตะเกียงแอลกอฮอ แอลกอฮอ 1 แก้วเล็ก เข็มเขี่ยเชื้อ ไฟเช็ค วางไว้ในตู้เขี่ย ใช้แอลกอฮอในกระบอกฉีดฉีดภายในตู้เขี่ยให้ทั่ว เปิดไฟ UV เอาผ้าคลุมกันแสงออกมาภายนอกซึ่งแสง UV หากโดนมากๆอาจเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ใช้เวลาเปิด UV 30 นาที่ เตรียมข้าวโพดที่นึ่งแล้ววางในตู้ให้กระจายๆกัน อย่าให้ติดกัน ประมาณค่อนตู้เขี่ย ใช้แอลกอฮอในกระบอกฉีดฉีดภายในตู้ที่วางถุงข้าวโพด ปิดตู้ให้สนิทเปิดแสง UV อีกรอบ 30 นาที่

5.3 การเขี่ยเชื้อ ใช้แอลกอฮอในกระบอกฉีดฉีดมือทั้ง 2 ข้าง และขวดหัวเชื้อราบิวเวอร์เรีย ก่อนยื่นมือเข้าตู้ ใช้ไฟเช็คจุดกะเกียงแอลกอฮอ นำเข็มเขี่ยเชื้อรนไฟฆ่าเชื้อจนแดงแล้วหยุดรบรอจนเย็น ดับไฟตะเกียง ใช้เข็มเขี่ยเชื้อตัดวุ้นเชื้อราประมาณ 3 x 3 มิลลิเมตรแล้วนำมาใส่ในถุงข้าวโพดโดยให้เชื้อฝังอยู่ตรงกลางถุง ปิดจุกถุงแล้ววางไว้ในตู้ก่อน การวางเข็มเขี่ยคือให้แช่ที่แก้วแอลกอฮอ ถุงต่อไปเข็มเขี่ยไม่ต้องลนไฟแล้ว ทำต่อไปเรื่อยๆจนหมดแล้วค่อยเอาข้าวโพดที่เขี่ยเชื้อแล้วออกจากตู้ หากจะนำของเช่นหัวเชื้อหมดจะนำขวดใหม่เข้าไปก็ต้องฉีด แอลกอฮอก่อนทั้งที่มือและขวด

6. การเลี้ยงเชื้อ ให้วางเชื้อไว้ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้ การวางให้เว้นระยะช่องไฟนิดหนึ่งเพื่อให้อากาศผ่านได้ เพราะเมื่อเชื้อเริ่มเดินอุณภูมิของข้าวโพดที่มีเชื้อราจะสูงขึ้น และให้โดนแสงตามปกติไม่ควรให้มืดตลอดเวลา ตั้งทิ้งไว้ 10-15 วัน จะได้เชื้อบิวเวอร์เรียสมบูรณ์



เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง ซึ่งสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด ในอันดับ Homoptera Lepidoptera Coleoptera และ Diptera ซึ่งได้แก่แมลงจำพวกเพลี้ยต่างๆ หนอนผีเสื้อ ด้วง และแมลงวัน หรือยุง นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสามารถกำจัดปลวก และมดคันไฟได้ ทำให้มดและปลวกตายยกรังได้
   กลไกการเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอร์เรีย คือ เมื่อสปอร์ของเชื้อราสัมผัสกับผิวของแมลง ในสภาพความชื้นที่เหมาะสม (ความชื้นสัมพัทธ์ 50 % ขึ้นไป) จะงอกเส้นใยแทงผ่านผิวหนังเข้าไปในลำตัวแมลง แล้วขยายจำนวนเจริญอยู่ภายในโดยใช้เนื้อเยื่อของแมลงเป็นอาหาร แมลงจะตายในที่สุด ภายในระยะเวลาต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และวัยของแมลง โดยทั่วไปประมาณ 3 - 14 วัน เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถนำมาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืช เศรษฐกิจหลายชนิด เช่น แมลงศัตรูพืชเป้าหมายในข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ บั่ว หนอนห่อใบ ในมะม่วงได้แก่ เพลี้ยจักจั่นที่ทำลายช่อมะม่วง แมลงค่อมทอง ในพืชตระกูลส้มได้แก่ เพลี้ยอ่อนส้ม เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ ไรแดง ในพืชผักได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรขาว แมลงหวี่ขาว หนอนผีเสื้อต่างๆ ในอ้อยได้แก่ แมลงค่อมทอง เป็นต้น
*** ข้อมูลจาก  http://donchedi.suphanburi.doae.go.th/bb.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น