วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เชื้อราเมตตาไรเซียม

เชื้อราเมตตาไรเซียม   

คัดลอกจาก http://www.bio-agri.com/news/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B9%8B%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2.html

     สวัสดีครับวันนี้ผมจะมาแนะนำเชื้อราเมตตาไรเซียมบางท่านอาจเคยคุ้นๆหูกันมาบ้างแล้วแต่บางท่านอ่จจพยังไม่รู้จัก เชื้อราเมตตาไรเชียมคุณสมบัติหลักคือใช้กำจัดแมลงเช่นเดียวกันเชื้อราบิวเวอเรีย แต่เชื้อราเมตตไรเซียมมีความสามาถในการกำจัดแมลงได้ดีกว่าเชื้อราบิวเวอร์เรียเนื่องจากคุณสมบัติของเชื้อราเมตตาไรเซียมคือทนอุณภุมิได้สูงกว่าและยังอาศัยอยู่ในดิน แต่เชื้อราเมตตาไรเซียมนั้นจะใช้เวลาในการติดเชื้อและทำให้แมลงตายนานกว่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Metarhizium anisopliae
      เชื้อราเมตตาไรเซียม เป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกับแมลงได้หลายชนิด ซึ่งขึ้นกับชนิดและสายพันธุ์ของเชื้อราเมตตาไรเซียมด้วย ลักษณะโดยทั่วไปของเชื้อราเมตตาไรเซียม คือเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีสีเขียวหม่น สามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน เป็นเชื้อราที่ไม่ทำอันตรายต่อไส้เดือนฝอย สัตว์ต่างๆ และมนุษย์
ประโยชน์
เชื้อราเมตตาไรเซียม Metarhizium anisopliae สามารถเข้าทำลายด้วงหนวดยาว ได้ทุกระยะ ตั้งแต่ระยะไข่
จนถึงตัวเต็มวัย และสามารถทำลายหนอนได้มากกว่า 90% จัดว่าเป็นเชื้อราที่มีประสิทธิภาพในการควบคุม
ศัตรูพืชชนิดหนึ่ง
*** ข้อมูลจากศูนย์บริหารศตรูพืช จังหวัดขอนแก่น

เชื้อราเมตตาไรเซียมที่เลี้ยงด้วยกระบวนการพิเศษ
มาดูเชื้อที่เพาะได้ตามปกติ ซึงก็เพาะยากแล้วเท่าที่ทราบมายังไม่มีที่ใดเพาะแล้วได้ผลเกิน 90 % แต่เราทำได้แล้ว(หลังจากทดลองมากว่าปีเต็มๆ ตอนนี้ได้ผล 99%)
     กระบวนการเพาะเชื้อเราไม่ปิดบังครับเข้าไปดูได้ที่บทความ "เชื้อรากำจัดแมลงและป้องกันโรค" ในหน้าแรก มีทั้งเทคนิดและคำแนะนำจากประสบการณ์ที่กว่าจะเพาะเชื้อเมตตาไรเซียมในบริมาณมากๆได้
   
     เชื้อเดินเต็มที่ได้เท่านี้ครับ ที่เห็นขาวๆนั้นคือตัวอ่อนของเชื้อราเมตตาไรเซียม ถ้าโตเต็มที่จะเป็นสีเขียว จากรูปหากเลี้ยงต่อไปอีกก็จะยังเป็นแบบนี้ไม่โดตจนเขียวแต่ถ้านานจัดข้าวโพดจะเน่าแล้วเสียเลย แต่ลักษณะตามรูปด้านบนนี้ถือว่าเชื้อสมบูรณ์ครับ
     ถึงได้เชื้อที่เพาะแล้วได้ผลเกิน 99 %แล้วยังไม่พอ ต้องมีกระบวนการเลี้ยงเชื้อต่อให้โตเต็มที่ทั้งหมด ผลที่ได้ตามรูปด้านล่างครับ เชื้อราเมตตาไรเซียมที่โตเต็มที่ทั้งถุง
  
    าเชื้อมีการโดเต็มที่หมดทั้งถุงและเป็นสีเขียวคลำหมดทั้งถุงเชื้อราเมตตาไรเซียมฟูรอบเมล็ดข้าวโพดทุกเมล็ด ถ้าได้ลองมาจับดูจะเห็นได้ทันที่ว่าเมื่อขยับถุงเชื้อราจะฟุ้งทันทีรกจะได้เชื้อโตเต็มที่ก็จริงแต่เชื้อรายังอยู่แค่รอบนอกของเมล็ดข้าวโพด เราจึงมีกระบวนการอีกอย่างที่ทำให้เชื้อราโตเข้าไปข้างในเมล็ดข้าวโพดเชื้อราเมตตาไรเซียมที่โตเต็มที่ถึงข้างในเมล็ด
     รูปด้านบนคือเชื้อราที่ผ่านกระบวนเพาะเลี้ยงสมบูรณ์แล้ว

     ซูมเข้าไปให้เห็นกันจะจะว่าเชื้อมีปริมาณเข้มข้นแค่ไหน

     รูปนี้หยิบมาใช้นิวบี้แล้วถ่ายรูปมาให้ดู จะเป็นว่าเชื้อราเข้าไปยันในเมล็ดข้าวโพด ซึ่งถ้าเป้นการเพาะแบบปกติจะไม่สามารถใช้นิ้วปีเมล็ดข้าวโพดได้ซึ่งมันจะแข็งมาก(ต้องใช้ค้อนทุบถึงจะแตก)
     กระบวนการสุดท้ายคือการนำไปทำให้แห้งโดยที่เชื้อรายังไม่ตายโดยการอบแบบควบคุมอุณหภูมิ แล้วบดผงด้วยเครื่องจักร ด้านล่างเป้นเชื้อเมตตาไรเซียมที่เตรียมสำหรับทำผงซึ่งไม่ผสมอะไรเลย...


การเพาะเชื้อราเมตตาไรเซียม...(รูปต่างๆเดี่ยวตามมาทีหลัง)
การเพาะเชื้อด้วยข้าวโพด (ทำไมถึงเลือกใช้ข้าโพด? หาง่ายราคาถูก ทำเป็นผงง่าย)

การเพาะเชื้อจริงแล้วไม่ต่างจากการเพาะเชื้อราบิวเวอร์เรีย ดูที่เทคนิคที่ได้จากประสบการณ์เพาะเชื้อจริงจากการทดลองมาหลายปี

1. การเลือกข้าวโพด ควรจะมาจากไรเพราะถ้าซื้อจากลานมักจะอบยา(อะไรไม่ทราบ)จะทำให้เชื้อราไม่ขยายต่อ เชื้อราที่เพาะไว้จะเดินได้ไม่เต็มที่และข้าวโพดจะเน่าเสีย

2. การแช่ นำข้าวโพดล้างน้ำสะอาด(น้ำปะปาไม่ควรใช้น้ำคลอง) 1 รอบ เอาผงละอองและเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์(เมล็ดที่ลอยน้ำ) แล้วนำข้าวโพดที่ล้างแล้ว แช่น้ำสะอาดไว้ 1 คืน แล้วนำมาผึ่งโดยใช้ผ้าใบรอง(สะอาดนิดหนึ่ง)ให้พอมาด(ไม่แห้งแต่ไม่แฉะ)

3. การกรอกใส่ถุง กรอกใส่ถุง(ถุงที่ใช้เพาะเห็ดทดความร้อน)ประมาณ 250-300 กรัม อันนี้จะต่างจากการเพาะเชื้อบิวเวอร์เรียที่ใส่ได้ถึง 500 กรัม เนื่องจากเชื้อเมตตาไรเซียมขยายตัวช้ากว่าบิวเวอร์เรีย หากใส่เยอะเชื้อจะเดินได้ไม่เต็ม ถ้ารอนานข้าวโพดจะเน่า ใส่คอขวด อุดปากถุงด้วยสำลีหรือเศษผ้า

4. การนึ่ง นำถุงที่บรรจุข้าวโพดแล้วไปนึ่ง หากใช้หม้อนึ่งความดันจะดีมาก ควบคุมความดันที่ 1.25 bar อุณหภมิ 110-120 C ใช้เวลา 1 ชม. หากเป็นหม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง(ถังน้ำมัน 200 ลิตร) ใช้เวลานึ่ง 2-3 ชม. ไม่ควรนึ่งนานเพราะพวดโพดจะสุกจนนิ่ม สังเกตุเวลานำออกจากหม้อนึ่งหากมีนำขังหรือข้าวโพดเละก็ไม่ควรนำไปเขี่ยเชื้อเพราะถึงเขี่ยไปก็เสียเวลาเสียแรงเชื้อจะไม่เดิน แต่ถ้านึ่งเร็วเกินไปเชื้ออื่่นๆในข้าวโพดยังไม่ตายก็เสียอีกเหมือนกันเพราะจะมีเชื้อราอื่นๆป่นอยู่และมักจะโตเร็วทำให้เชื้อที่เราเขี่ยเดินได้น้อย พักไว้ให้เย็น

5. การเขี่ยเชื้อ แนะนำให้ทำห้องสะอาดสำหรับการเขี่ยเชื้อโดยเฉพาะ สาเหตุคือการเขี่ยเชื้อในที่โล่งจะมีเชื้อราอื่นๆที่ปลิวมาตามลมเข้าไปปนได้(อันนี้เรื่องจริงจากประสบการณ์เขี่ย ในที่โล่งจะมีเชื้ออื่นปนประมาณ 30% เขี่ยในห้องมีประมาณ 1-2%) และต้องเขี่ยในตู้เขี่ยอีกที
  5.1 อุปกรณ์เขี่ยเชื้อ 
   1) หัวเชื้อราเมตาไรเซียม แนะนำให้ใช้หัวเชื้อจากศูนย์บริหารศตรูพืช ชัยนาท หรือ พิษณุโลก (ลองมาจากหลายแหล่งแล้วสรุปว่า 2 ที่นี้ดีที่สุด)
   2) ตู้เขี่ยเชื้อ ติดตั้งหลอดไฟส่องสว่าง และหลอด UV ฆ่าเชื้อ
   3) ตะเกียงแอลกอฮอ
   4) ไฟเช็ค
   5) แอลกอฮอ 1 แก้วเล็ก
   6) แอลกอฮอในกระบอกฉีด(ฟอกกี้)
   7) เข็มเขี่ยเชื้อ
  5.2 การเตรียมการ นำ ตะเกียงแอลกอฮอ แอลกอฮอ 1 แก้วเล็ก เข็มเขี่ยเชื้อ ไฟเช็ค วางไว้ในตู้เขี่ย ใช้แอลกอฮอในกระบอกฉีดฉีดภายในตู้เขี่ยให้ทั่ว เปิดไฟ UV เอาผ้าคลุมกันแสงออกมาภายนอกซึ่งแสง UV หากโดนมากๆอาจเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ใช้เวลาเปิด UV 30 นาที่ เตรียมข้าวโพดที่นึ่งแล้ววางในตู้ให้กระจายๆกัน อย่าให้ติดกัน ประมาณค่อนตู้เขี่ย ใช้แอลกอฮอในกระบอกฉีดฉีดภายในตู้ที่วางถุงข้าวโพด ปิดตู้ให้สนิทเปิดแสง UV อีกรอบ 30 นาที่
  5.3 การเขี่ยเชื้อ ใช้แอลกอฮอในกระบอกฉีดฉีดมือทั้ง 2 ข้าง และขวดหัวเชื้อราเมตาไรเซียม ก่อนยื่นมือเข้าตู้ ใช้ไฟเช็คจุดกะเกียงแอลกอฮอ นำเข็มเขี่ยเชื้อรนไฟฆ่าเชื้อจนแดงแล้วหยุดรบรอจนเย็น ดับไฟตะเกียง ใช้เข็มเขี่ยเชื้อตัดวุ้นเชื้อราประมาณ 3 x 3 มิลลิเมตรแล้วนำมาใส่ในถุงข้าวโพดโดยให้เชื้อฝังอยู่ตรงกลางถุง ปิดจุกถุงแล้ววางไว้ในตู้ก่อน การวางเข็มเขี่ยคือให้แช่ที่แก้วแอลกอฮอ ถุงต่อไปเข็มเขี่ยไม่ต้องลนไฟแล้ว ทำต่อไปเรื่อยๆจนหมดแล้วค่อยเอาข้าวโพดที่เขี่ยเชื้อแล้วออกจากตู้ หากจะนำของเช่นหัวเชื้อหมดจะนำขวดใหม่เข้าไปก็ต้องฉีด แอลกอฮอก่อนทั้งที่มือและขวด
6. การเลี้ยงเชื้อ ให้วางเชื้อไว้ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้ การวางให้เว้นระยะช่องไฟนิดหนึ่งเพื่อให้อากาศผ่านได้ เพราะเมื่อเชื้อเริ่มเดินอุณภูมิของข้าวโพดที่มีเชื้อราจะสูงขึ้น และให้โดนแสงตามปกติไม่ควรให้มืดตลอดเวลา ตั้งทิ้งไว้ 15 วันจะนานกว่าบิวเวอร์เพราะเชื้อโตช้ากว่าจะได้เชื้อตามรูป

ปัจจุบันมีหัวเชื้อขวด สามารถขอได้ที่สำนักงานกษตร ใกล้บ้านท่านครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น